
ธนาคารโลก
สร้างเมื่อ : วันอาทิตย์ 29 ธันวาคม 2567, 23:03:32
แก้ไขเมื่อ : วันอาทิตย์ 29 ธันวาคม 2567, 23:03:32
เข้าชม : 564
ไฟล์ PDF
ธนาคารโลก
The World Bank
The World Bank
เว็บไซต์ www.worldbank.org
ที่ตั้ง กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐฯ
ก่อตั้งเมื่อ 27 ธ.ค.2488 โดยนายจอห์น เมนาร์ด เคนส์ และนายแฮร์รี่ เดกซ์เตอร์ไวท์
สมาชิก 189 ประเทศ
ประธาน นาย Ajay Banga อดีตรองประธานบริษัท General Atlantic ของสหรัฐฯ และอดีตประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท Mastercard ดำรงตำแหน่งเมื่อ 2 มิ.ย.2566 (วาระ 5 ปี) เป็นประธาน World Bank คนที่ 14
ภารกิจ WB ชื่อเดิม คือ ธนาคารเพื่อการบูรณะและพัฒนาระหว่างประเทศ (International Bank for Reconstruction and Development-IBRD) ก่อตั้งเมื่อ 27 ธ.ค.2488 จากการประชุม United Nations Monetary and Financial Conference หรือ Bretton Woods Conference ที่เบรตตันวูดส์ สหรัฐฯ โดย ประเทศมหาอำนาจในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรป ต้องการให้ WB เป็นทบวงการชำนัญพิเศษแห่ง สหประชาชาติที่ให้ความช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนา ทั้งด้านการเงินและการให้คำปรึกษาทางวิชาการและ เทคนิค รวมทั้งนำเสนอเเนวโน้มและการประเมินเศรษฐกิจโลก ประกอบด้วย 5 องค์กร ดังนี้
1. ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการฟื้นฟูบูรณะและพัฒนา (International Bank for Reconstruction and Development-IBRD) ทำงานร่วมกับรัฐบาล เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาแก่ กลุ่มประเทศกำลังพัฒนารวมถึงไทย
2. สมาพันธ์การพัฒนาระหว่างประเทศ (International Development Association-IDA) ทำงานร่วมกับรัฐบาล เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาแก่กลุ่มประเทศรายได้ต่ำ เช่น ลาว มองโกเลีย และกัมพูชา2
3. บรรษัทการเงินระหว่างประเทศ (International Finance Corporation-IFC) ร่วมกับ ภาคเอกชนในโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ อาทิ สนับสนุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของบริษัท โซลาร์ เพาเวอร์ (โคราช 1) จำกัด
4. สถาบันประกันการลงทุนแบบพหุภาคี (Multilateral Investment Guarantee AgencyMIGA) ทำหน้าที่รับประกันความเสี่ยงในการลงทุนโครงการเพื่อการพัฒนาที่มีความเสี่ยงสูง อาทิ โครงการ โรงไฟฟ้าพลังน้ำ จากเขื่อนน้ำเทิน 2 ที่ลาว
5. International Centre for the Settlement of Investment Disputes (ICSID) ประสานงาน เพื่อการลงทุนในประเทศที่มีความขัดแย้งรุนแรงและสงครามกลางเมือง (ไทยเป็นสมาชิกทุกองค์กร ยกเว้น องค์กรที่ 5)
WB จะเผยแพร่รายงานการคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ ในช่วง เม.ย. และ ต.ค. ของทุกปี พร้อมกับเสนอแนะนโยบายในการบริหาร นโยบาย การเงิน และจัดการเศรษฐกิจมหภาค
การประชุมประจำปี IMF-WB
WB จัดประชุมประจำปีร่วมกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund-IMF) ในห้วงตุลาคม โดยจัดประชุมที่กรุงวอชิงตัน ดี. ซี. สหรัฐฯ 2 ปี และประชุมที่ประเทศสมาชิกในปี ถัดไป ทั้งนี้ ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดประชุมประจำปี IMF-WB ที่กรุงเทพฯ ในปี 2569 การประชุมประจำปี IMFWB จะมีผู้แทนเข้าร่วมการประชุมจากธนาคารกลาง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและการพัฒนาต่าง ๆ ภาคเอกชนชั้นนำ ภาคประชาสังคม สื่อมวลชน และนักวิชาการ เพื่อหารือเกี่ยวกับความท้าทายสำคัญและ เร่งด่วนที่เป็นปัญหาสำหรับเศรษฐกิจโลก รวมถึงทิศทางเศรษฐกิจโลก เสถียรภาพการเงินของโลก การขจัด ความยากจน การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีส่วนร่วมและการสร้างงาน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ การพัฒนาด้านดิจิทัล
การประชุมประจำปี IMF-WB ระหว่าง 21-26 ต.ค.2567 ที่กรุงวอชิงตัน ดี ซี สหรัฐฯ ประเมิน การเติบโตของเศรษฐกิจจะคงที่ที่ 3.2% ในห้วงปี 2567-2568 ขณะเดียวกันอัตราเงินเฟ้อทั่วโลกได้ลดลงเข้าใกล้ เป้าหมายแล้วในหลายประเทศ อย่างไรก็ดี ปัจจัยเสี่ยงสำคัญคือความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ เฉพาะอย่างยิ่ง ในภูมิภาคตะวันออกกลางที่ทวีความรุนแรงขึ้น และหนี้สาธารณะทั่วโลกที่มีแนวโน้มสูงขึ้น และคาดว่าจะสูง กว่า 100 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2567
ขณะที่เศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก คาดการณ์ว่าจะเติบโต 4.6% ในปี 2567 และ 4.4% ในปี 2568 และเป็นภูมิภาคหลักที่ขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐทั่วโลกถึง 60% โดยอุปสงค์ในประเทศที่ พัฒนาแล้วของเอเชียจะแข็งแกร่งขึ้น เนื่องจากการดำเนินนโยบายทางการเงินที่ผ่อนคลายลง การเติบโตในจีน และอินเดียจะยังคงยืดหยุ่น แม้ว่าเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศจะชะลอตัวลงเล็กน้อยในปี 2568
นอกจากนี้ ที่ประชุมสนับสนุนให้ประเทศต่าง ๆ ใช้ประโยชน์จากเงินอิเล็กทรอนิกส์ และการ ชำระเงินแบบดิจิทัล (E-money) ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เฉพาะอย่างยิ่งในตลาดเกิดใหม่ ซึ่งมีผู้ใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์ถึง 2 พันล้านคน มูลค่าการใช้จ่ายประมาณ 1.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ทำให้การเข้าถึง บริการทางการเงินทั่วโลกครอบคลุมมากขึ้น
ข้อวิจารณ์ WB
WB ถูกวิพากษ์วิจารณ์มาโดยตลอดจากกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) ต่างประเทศ ประเด็น สำคัญ เช่น กระบวนการตัดสินใจภายในองค์กรขาดความโปร่งใสและได้รับอิทธิพลจากประเทศสมาชิกที่มี ฐานะร่ำรวยมากเกินไปโดยเฉพาะสหรัฐฯ เงื่อนไขการกู้ยืมเงินที่ส่งผลให้ประเทศผู้กู้ต้องดำเนินนโยบายที่อาจ ไม่สอดคล้องกับลำดับความสำคัญในการพัฒนา มุ่งเน้นการสนับสนุนเงินกู้เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ที่อาจเอื้อประโยชน์ต่อบริษัทข้ามชาติมากกว่าชุมชนในท้องถิ่น
ความร่วมมือกับไทย
ไทยเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 48 เมื่อ 3 พ.ค.2492 ได้รับเงินกู้จาก WB ครั้งแรกปี 2493 จำนวน 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับโครงการบูรณะรางรถไฟ โครงการปรับปรุงท่าเรือกรุงเทพฯ และโครงการพัฒนา ระบบชลประทานของแม่น้ำเจ้าพระยา จากปี 2545 เป็นต้นมา ความสัมพันธ์ไทย-WB ก้าวหน้ามาสู่ภาคพัฒนา มีการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการพัฒนาและการให้คำปรึกษาผ่านโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาประเทศ (Country Development Partnership-CDP) ปัจจุบัน ไทยและ WB พัฒนาแนวทางความร่วมมือในรูปแบบ Country Partnership Strategy (CPS) ซึ่งเป็นรายงานประเมินการดำเนินงานของ WB ในการให้ความ ช่วยเหลือไทยตามยุทธศาสตร์ Thailand-World Bank Group Partnership for Development และยึด นโยบายของรัฐบาลและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทย
การคาดการณ์เศรษฐกิจ
WB ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยปี 2568 จะขยายตัว 3% โดยมีปัจจัยสำคัญ คือ ภาคการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายยกเว้นการตรวจลงตรารวมถึงการให้ Visa on Arrival (VOA) แก่ประเทศต่างๆ มากขึ้น นอกจากนี้ หน่วยงานภาครัฐจะเร่งการใช้จ่ายมากขึ้น เนื่องจากพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2568 มีผลบังคับใช้แล้ว ส่วนการดำเนินโครงการ Digital Wallet จะช่วยให้เศรษฐกิจ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 0.3% อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญปัจจัยเสี่ยงจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ เฉพาะอย่างยิ่งสถานการณ์ในตะวันออกกลางที่ทวีความตึงเครียดมากขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ใน ตลาดโลกผันผวน และต้นทุนการขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นซึ่งจะกระทบต่อภาคการส่งออก
------------------------------------------------