home อัลมาแนค | category องค์การระหว่างประเทศ

องค์การกลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก

สร้างเมื่อ : วันอาทิตย์ 29 ธันวาคม 2567, 22:43:25
แก้ไขเมื่อ : วันอาทิตย์ 29 ธันวาคม 2567, 22:43:25
เข้าชม : 168

องค์การกลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก (OPEC)

OPEC

OPEC

Flag
ภาพรวม:

เว็บไซต์           www.opec.org                                                             

 

ที่ตั้งสำนักงาน   เวียนนา ออสเตรีย

 

ก่อตั้งเมื่อ         ก.ย.2503 โดยอิหร่าน อิรัก คูเวต ซาอุดีอาระเบีย และเวเนซุเอลา โดยการลงนามข้อตกลงที่แบกแดด อิรัก

 

สมาชิก            ประกอบด้วย 12 ประเทศ (ต.ค.2567) ได้แก่ แอลจีเรีย คองโก อิเควทอเรียลกินี กาบอง อิหร่าน อิรัก คูเวต ลิเบีย ไนจีเรีย ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเวเนซุเอลา โดย OPEC 12 ประเทศ ร่วมกับ Non-OPEC อีก 10 ประเทศ ได้แก่ อาเซอร์ไบจาน บาห์เรน บรูไน คาซัคสถาน มาเลเซีย เม็กซิโก โอมาน รัสเซีย ซูดาน และซูดานใต้ รวมเป็น OPEC+ 22 ประเทศ

 

เลขาธิการ        นาย Haitham Al Ghais ชาวคูเวต ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ OPEC เมื่อ 1 ส.ค.2565 วาระ 3 ปี

 

ภารกิจ            กำหนดเป้าหมายร่วมกันด้านปิโตรเลียมของประเทศสมาชิก เพื่อประกันความยุติธรรมและความมีเสถียรภาพของราคาปิโตรเลียม รวมถึงผลตอบแทนที่ยุติธรรมแก่นักลงทุน ทั้งนี้ ในการประชุม Joint Ministerial Monitoring Committee (JMMC) เมื่อ มิ.ย.2567 OPEC+ เห็นพ้องขยายระยะเวลาปรับลดกำลังการผลิตน้ำมัน 3.66 ล้านบาร์เรลต่อวัน จนถึงสิ้นปี 2568 เพื่อพยุงราคาน้ำมันดิบไม่ให้ตกต่ำ เนื่องจากความต้องการในตลาดโลกชะลอตัว เฉพาะอย่างยิ่งในจีน

                     ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกในปี ๒๕๖๘ มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง คาดว่าจะอยู่ที่ระหว่าง 60-75 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล  โดยปัจจัยด้านจิตวิทยาที่เกิดจากความกังวลของตลาดต่อสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่ยังไม่ยุติจะมีผลทำให้ราคาน้ำมันดิบสูงขึ้น แต่เป็นเพียงระยะสั้น

                     นาย Haitham Al-Ghais เลขาธิการ OPEC ประเมินว่าน้ำมันจะยังคงมีบทบาทสำคัญในตลาดพลังงานโลกต่อไปอย่างน้อยในระยะ 10 ปี เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจบางประเภทยังจำเป็นต้องพึ่งพาน้ำมัน เฉพาะอย่างยิ่งการขนส่งทางอากาศและทางทะเล โดยระหว่างปี 2565-ปี 2588 อินเดียจะเป็นประเทศที่ใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นมากที่สุด เฉลี่ยวันละ 6.6 ล้านบาร์เรล รองลงมาคือจีน ประมาณวันละ 4 ล้านบาร์เรล ขณะที่การใช้ถ่านหินจะลดลง เนื่องจากนโยบายพลังงานของประเทศต่างๆ มุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานลมและแสงอาทิตย์จะเพิ่มขึ้นจากประมาณร้อยละ 2.7 เมื่อปี 2565 เป็นร้อยละ 11.7 ในปี 2588 อย่างไรก็ตาม น้ำมันจะยังคงเป็นเชื้อเพลิงที่มีสัดส่วนการใช้มากที่สุด ประมาณร้อยละ 30

         

-----------------------------------------------------------