BIMSTEC
สร้างเมื่อ : วันอาทิตย์ 29 ธันวาคม 2567, 22:19:50
แก้ไขเมื่อ : วันอาทิตย์ 29 ธันวาคม 2567, 22:19:50
เข้าชม : 253
ไฟล์ PDF
ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ
BIMSTEC
BIMSTEC

สมาชิก บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย เมียนมา เนปาล ศรีลังกา และไทย
การก่อตั้ง ไทยริเริ่มก่อตั้ง BIMSTEC ขึ้นเมื่อปี 2540 ภายใต้ชื่อ Bangladesh-India-Sri Lanka-Thailand Economic Cooperation (BIST-EC) แต่ในระยะต่อมาปรับเปลี่ยนเป็น Bangladesh-India-Myanmar-Sri Lanka-Thailand Economic Cooperation (BIMST-EC) ในปีเดียวกัน จากการรับเมียนมาเข้าเป็นสมาชิกใหม่ตามมติที่ประชุมระดับรัฐมนตรีสมัยพิเศษ ที่กรุงเทพฯ และต่อมาปรับเปลี่ยนเป็น Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation เมื่อ 31 ก.ค.2547 โดยใช้อักษรย่อ BIMSTEC เช่นเดิม ซึ่งเป็นผลจากการประชุมสุดยอดครั้งแรกที่ไทย ทั้งนี้ เมื่อปี 2546 BIMSTEC ได้รับภูฏานและเนปาลเข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม รวมเป็น 7 ประเทศรอบอ่าวเบงกอล ได้แก่ บังกลาเทศ ศรีลังกา อินเดีย ไทย เมียนมา เนปาล และภูฏาน ปัจจุบัน มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงธากา บังกลาเทศ
BIMSTEC ประกอบด้วย ความร่วมมือหลากหลายสาขา ปัจจุบัน ประเทศสมาชิกทั้ง 7 ประเทศ มีบทบาทนำในแต่ละสาขา ดังนี้
1. สาขาการค้าการลงทุนและการพัฒนา (บังกลาเทศเป็นประเทศนำ) กลไกความร่วมมือที่สำคัญ ได้แก่ คณะทำงานว่าด้วยกฎถิ่นกำเนิดของสินค้าและคณะกรรมการเจรจาการค้า BIMSTEC
2. สาขาสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ภูฏานเป็นประเทศนำ) กลไกความร่วมมือที่สำคัญ ได้แก่ การจัดตั้งศูนย์สภาพอากาศและภูมิอากาศของภูมิภาค BIMSTEC
3. สาขาความมั่นคง (อินเดียเป็นประเทศนำ) กลไกความร่วมมือที่สำคัญ ได้แก่ อนุสัญญา BIMSTEC ว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องทางอาญา อนุสัญญา BIMSTEC ว่าด้วยความร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้าย องค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ และการลักลอบค้ายาเสพติด
4. สาขาความร่วมมือการเกษตร และความมั่นคงทางอาหาร (เมียนมาเป็นประเทศนำ) กลไกความร่วมมือที่สำคัญ ได้แก่ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านความร่วมมือทางการเกษตร
5. สาขาการติดต่อระหว่างประชาชน (เนปาลเป็นประเทศนำ) กลไกความร่วมมือที่สำคัญ ได้แก่ บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการก่อตั้งคณะกรรมการอุตสาหกรรมวัฒนธรรมและศูนย์ปฏิบัติการอุตสาหกรรมวัฒนธรรม BIMSTEC
6. สาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (ศรีลังกาเป็นประเทศนำ) กลไกความร่วมมือที่สำคัญ ได้แก่ บันทึกความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี BIMSTEC และกลไกขับเคลื่อนความร่วมมือด้านการแพทย์ดั้งเดิมของ BIMSTEC
7. สาขาความเชื่อมโยง (ไทยเป็นประเทศนำ) ประกอบด้วย ความเชื่อมโยงทางบก ความเชื่อมโยงทางทะเล ความเชื่อมโยงด้านดิจิทัล ความเชื่อมโยงด้านพลังงาน และความเชื่อมโยงระหว่างประชาชน กลไกความร่วมมือที่สำคัญ ได้แก่ แผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงด้านคมนาคม ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการขนส่งทางทะเล (อยู่ระหว่างการเจรจา)
การดำรงตำแหน่งประธาน
- หมุนเวียนเรียงตามตัวอักษร
โดยเริ่มจากบังกลาเทศ (ปี 2540-2542) อินเดีย
(ปี 2543)
เมียนมา (ปี 2544-2545) ศรีลังกา (ปี 2545-2546) ไทย (ปี 2547-2548) บังกลาเทศ
(ปี 2548-2549)
อินเดีย (ปี 2549-2551) เมียนมา (ปี 2551-2557) เนปาล (ปี 2558-2561) ศรีลังกา (ปี 2561-2565)
ไทย (ปี 2565-2567)
ตำแหน่งเลขาธิการถาวร นาย Indra Mani Pandey (อินเดีย) วาระปี 2566-ปัจจุบัน
การประชุมที่สำคัญในปี 2567
- การประชุม BIMSTEC Expert Group on Tourism ครั้งที่ 2 ที่กรุงกาฐมาณฑุ เนปาล ระหว่าง 17-18 ม.ค.2567
- การประชุม Eminent Persons’ Group (EPG) on the Future Directions of BIMSTEC ที่กรุงธากา บังกลาเทศ เมื่อ 25 ม.ค.2567
- BIMSTEC Aquatics Championship ที่กรุงนิวเดลี อินเดีย ระหว่าง 6-9 ก.พ.2567
- เลขาธิการ BIMSTEC กล่าวสุนทรพจน์ในที่ประชุม Indian Ocean
Conference
ที่เมืองเพิร์ท ออสเตรเลีย เมื่อ 10 ก.พ.2567
- เลขาธิการ BIMSTEC ร่วมกับธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank-ADB) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ Workshop on Cross-border Transmission Lines Optimization of the BIMSTEC Grid Interconnection Masterplan ที่กรุงธากา บังกลาเทศ ระหว่าง 18-19 ก.พ.2567
- การประชุม Eminent Persons’ Group (EPG) on the Future Directions of BIMSTEC ครั้งที่ 2 ที่กรุงธากา บังกลาเทศ ระหว่าง 11-12 มี.ค.2567
- การประชุม BIMSTEC Expert Group on Fisheries and Livestock ครั้งที่ 1 (ผ่านระบบออนไลน์) เมื่อ 12 มี.ค.2567 โดยเมียนมาเป็นเจ้าภาพ
- การประชุม BIMSTEC Expert Group on Cultural Cooperation ครั้งที่ 2 ที่เมือง Lalitpur เนปาล เมื่อ 31 มี.ค.2567
- การประชุม BIMSTEC Inter-governmental Expert Group on Mountain Economy (IEG-ME) ครั้งที่ 1 ที่กรุงทิมพู ภูฏาน ระหว่าง 23-24 เม.ย.2567
- การประชุม Eminent Persons’ Group (EPG) on the Future Directions of BIMSTEC ครั้งที่ 3 ที่กรุงธากา บังกลาเทศ ระหว่าง 12-13 พ.ค.2567
- ประกาศใช้ Charter of the Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation (BIMSTEC) ตั้งแต่ 20 พ.ค.2567
- BIMSTEC Regional Consultation on the Global Digital Compact (GDC) ที่กรุงธากา บังกลาเทศ ระหว่าง 22-23 มิ.ย.2567
- การประชุม BIMSTEC Sub-Group on Human Trafficking ครั้งที่ 2 ที่กรุงโคลัมโบ
ศรีลังกา ระหว่าง 26-27 มิ.ย.2567
- การประชุม Eminent Persons’ Group (EPG) on the Future Directions of BIMSTEC ครั้งที่ 4 ที่กรุงธากา บังกลาเทศ ระหว่าง 25-27 มิ.ย.2567
- การประชุม BIMSTEC Network of Policy Think Tanks (BNPTT) (ผ่านระบบออนไลน์) ระหว่าง 9-10 ก.ค.2567 โดยเมียนมาเป็นเจ้าภาพ
- การประชุม Third Bay of Bengal Economic Dialogue หัวข้อ “The New World Order and BIMSTEC: Curtain Raiser to the Sixth BIMSTEC Summit” ที่กรุงเทพ ระหว่าง 11-12 ก.ค.2567
- การประชุมระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ BIMSTEC อย่างไม่เป็นทางการ (BIMSTEC Foreign Ministers' Retreat) ครั้งที่ 2 ที่กรุงนิวเดลี อินเดีย ระหว่าง 11-12 ก.ค.2567
- การประชุม Eminent Persons’ Group (EPG) on the Future Directions of BIMSTEC ครั้งที่ 5 ที่กรุงธากา บังกลาเทศ ระหว่าง 16-19 ก.ค.2567
- การประชุม BIMSTEC National Security Chiefs ครั้งที่ 4 ที่กรุงเนปยีดอ เมียนมา
เมื่อ 26 ก.ค.2567
- การประชุม BIMSTEC Expert Group on Science, Technology and Innovation (STI) Cooperation ที่กรุงโคลัมโบ ศรีลังกา ระหว่าง 25-26 ก.ค.2567
- การประชุม BIMSTEC Expert Group on Human Resource Development (EG-HRD) (ผ่านระบบออนไลน์) ระหว่าง 21-22 ส.ค.2567
- การประชุม BIMSTEC Expert Group on Maritime Security Cooperation ครั้งที่ 3 ที่กรุงนิวเดลี อินเดีย เมื่อ 11 ก.ย.2567
- การประชุม Eminent Persons’ Group (EPG) on the Future Directions of BIMSTEC ครั้งที่ 6 ที่กรุงธากา บังกลาเทศ ระหว่าง 10-12 ก.ย.2567
- การประชุมระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ BIMSTEC อย่างไม่เป็นทางการ นอกรอบการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ครั้งที่ 79 ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐฯ เมื่อ 27 ก.ย.2567
- การประชุม BIMSTEC Expert Group on Poverty Alleviation ครั้งที่ 3 ที่เมือง Dhulikhel เนปาล ระหว่าง 7-8 ต.ค.2567
- การประชุมพิเศษของคณะกรรมการบริหาร BIMSTEC Energy Centre (ผ่านระบบออนไลน์) เมื่อ 29 ต.ค.2567
-------------------------------------------