สหราชอาณาจักร
home อัลมาแนค | category ยุโรป

สหราชอาณาจักร

สร้างเมื่อ : วันศุกร์ 27 ธันวาคม 2567, 22:57:57
แก้ไขเมื่อ : วันศุกร์ 27 ธันวาคม 2567, 22:57:57
เข้าชม : 354

สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ

United Kingdom

United Kingdom

Flag
Map Image
  • เมืองหลวง:
    กรุงลอนดอน
  • ที่ตั้ง:

    เป็นประเทศเกาะในมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปยุโรป มีพื้นที่ 243,610 ตร.กม. ลักษณะของประเทศมีรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยมฐานแคบ (ไม่รวมไอร์แลนด์เหนือ)

     อาณาเขต   

                    ทิศเหนือและทิศตะวันออกเฉียงเหนือ      ติดกับทะเลเหนือ

                    ทิศตะวันออกและทิศใต้                     ติดกับช่องแคบอังกฤษ 

                    ทิศตะวันตก                                         ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก สำหรับแคว้นไอร์แลนด์เหนือ  มีพื้นที่ภาคพื้นดินติดกับสาธารณรัฐ                                                                 ไอร์แลนด์และมีทะเลไอริชกั้นระหว่างแผ่นดินใหญ่สหราชอาณาจักรกับ

                                                                     แผ่นดินไอร์แลนด์เหนือ

  • ภูมิประเทศ:

    ลักษณะของประเทศเป็นเกาะ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) บริเตนใหญ่ (Great Britain) ได้แก่ เกาะส่วนที่เป็นแคว้นอังกฤษ เวลส์ และสกอตแลนด์ และ 2) ไอร์แลนด์เหนือ นอกจากนี้ ยังประกอบด้วย หมู่เกาะเล็ก ๆ ประมาณ 5,500 เกาะ โดยรอบ เช่น หมู่เกาะ Hebrides หมู่เกาะ Orkney และ Shetland หมู่เกาะ Wight หมู่เกาะ Scilly และหมู่เกาะ Anglesey 

  • ภูมิอากาศ:

    ค่อนข้างอบอุ่นมี 4 ฤดู คือ ฤดูใบไม้ผลิ (มี.ค.-พ.ค.) อุณหภูมิเฉลี่ย 10-15 องศาเซลเซียส มีฝนตกบ่อยครั้ง ฤดูร้อน (มิ.ย.-ส.ค.) อุณหภูมิเฉลี่ย 20-28 องศาเซลเซียส มีฝนตกประปราย ช่วงกลางวันจะยาวกว่าช่วงกลางคืน ฤดูใบไม้ร่วง (ก.ย.-พ.ย.) อุณหภูมิเฉลี่ย 15-17 องศาเซลเซียส มีฝนตกบ่อยครั้ง และฤดูหนาว (ธ.ค.-ก.พ.) อุณหภูมิเฉลี่ย -5 ถึง 7 องศาเซลเซียส มีหมอกและหิมะตกมากทางตอนเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันตก ส่วนภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงใต้ อากาศจะอบอุ่นกว่าภาคอื่นและมีฝนตกบ่อยครั้ง ช่วงเวลากลางวันสั้น

  • ประชากร:

    68,459,055 คน (ต.ค.2567) เพิ่มขึ้น 1.27% 

    รายละเอียดประชากร

                    ผิวขาว 81.7% เอเชีย 9.3% ผิวสี 4% ผสม 2.9% อื่น ๆ 2.1%

                     อัตราส่วนประชากรจำแนกตามอายุ : วัยเด็ก (0-14 ปี) 16.7% วัยทำงาน (15-64 ปี) 63.9% วัยชรา (65 ปีขึ้นไป) 19.3% อายุขัยเฉลี่ย 82 ปี เพศชาย 80 ปี เพศหญิง 84 ปี อัตราการเกิด 11 คนต่อประชากร 1,000 คน อัตราการตาย 9 คนต่อประชากร 1,000 คน

  • ศาสนา:

    ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์หลากหลายนิกาย ได้แก่ แองกลิคัน โรมันคาทอลิค  เพรสไบทีเรียน เมทอดิสต์ 46.2% อิสลาม 6.5% ฮินดู 1.7% ซิกข์ 0.9% อื่น ๆ 1.5% ไม่นับถือศาสนา 37.2% ไม่ระบุ 6%

  • ภาษา:

    ภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ มีภาษาถิ่นที่ใช้ตามภูมิภาคต่าง ๆ อาทิ ภาษาสกอต ภาษาเวลส์ ภาษาไอริช

  • การศึกษา:

    งบประมาณรายจ่ายด้านการศึกษา 4.1% ของ GDP

  • การก่อตั้งประเทศ:

    สหราชอาณาจักรมีชื่อเต็มว่า สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือเป็นประเทศที่มีบทบาทนำด้านการเป็นประชาธิปไตยแบบรัฐสภา และความก้าวหน้าทางวรรณคดีและวิทยาศาสตร์ จากการที่สหราชอาณาจักรมีดินแดนที่ประกอบขึ้นจากอดีตดินแดนอิสระ 4 แห่ง ได้แก่ อังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ การรวมตัวเป็นอาณาจักรจึงใช้เวลานับพันปี โดยอังกฤษและเวลส์รวมตัวกับสกอตแลนด์อย่างเป็นทางการเมื่อปี 2250 เป็นสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ (United Kingdom of Great Britain) ต่อมาเมื่อปี 2344 ได้ผนวกดินแดนทั้งหมดของเกาะไอร์แลนด์ และจัดตั้งเป็นสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ (United Kingdom of Great Britain and Ireland)

                              การรวมตัวดังกล่าวก่อให้เกิดการต่อต้านจากชาวไอริชชาตินิยม ต่อมาชาวไอริชสามารถสถาปนารัฐเสรีไอร์แลนด์ (Irish Free State) เมื่อปี 2464 ซึ่งครอบคลุมอาณาเขตเกือบทั้งหมดของเกาะไอร์แลนด์ ยกเว้น 6 มณฑลทางตอนเหนือ เป็นจุดเริ่มต้นของการแยกตัวเป็นอิสระอย่างสมบูรณ์ของไอร์แลนด์เมื่อปี 2480 ไอร์แลนด์ใต้จัดตั้งเป็นรัฐเอกราชมีชื่อเรียกว่า แอรา (Eire) และเปลี่ยนชื่อเป็นไอร์แลนด์เมื่อปี 2492 มีสถานภาพเป็นสาธารณรัฐอย่างเป็นทางการ และไม่สังกัดในเครือจักรภพ (Commonwealths of Nations) อีกต่อไป

                              อย่างไรก็ดี 6 มณฑลทางตอนเหนือในเขตอัลสเตอร์ (Ulster) หรือไอร์แลนด์เหนือ (Northern Ireland) ไม่ได้รวมตัวกับสาธารณรัฐ และยังคงเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ โดยมีชื่อเรียกรวมกันใหม่ว่า สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ ในสมัยศตวรรษที่ 19 สหราชอาณาจักรได้แผ่ขยายอิทธิพลทั้งทางบกและทางทะเล ทำให้มีเมืองขึ้นครอบคลุมพื้นที่ถึง 1 ใน 4 ของโลก แต่หลังจากประเทศได้รับความเสียหายจากสงครามโลกทั้ง 2 ครั้ง และการแยกตัวเป็นเอกราชของไอร์แลนด์ใต้ ทำให้อิทธิพลของสหราชอาณาจักรลดทอนลงอย่างมาก

  • วันชาติ:
    เนื่องจากสหราชอาณาจักรประกอบไปด้วย 4 ประเทศ ได้แก่ อังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ จึงไม่มีการกำหนดวันชาติร่วมกันอย่างเป็นทางการ ขณะเดียวกัน ทั้ง 4 ประเทศก็ไม่มีการกำหนดวันชาติของตนอย่างเป็นทางการ ประชาชนส่วนใหญ่จึงมักยึดถือเอาวันสำคัญทางศาสนาเป็นการ เฉลิมฉลองหลัก โดยในอังกฤษยึดวันเซนต์จอร์จ ซึ่งตรงกับวันที่ 23 เม.ย.ของทุกปีเป็นวันชาติ เวลส์เลือก วันเซนต์เดวิดซึ่งตรงกับวันที่ 1 มี.ค. ส่วนไอร์แลนด์เหนือใช้วันที่ 17 มี.ค. ซึ่งเป็นวันเซนต์แพตทริกเป็นวันชาติ และสกอตแลนด์เลือกวันเซนต์แอ
  • การเมือง:

                 ปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีกษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญแบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (Unwritten Constitution) มีระบบการกระจายอำนาจการปกครองให้แก่อังกฤษ เวลส์ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์เหนือ รัฐบาลกลางเป็นผู้ดูแลงานหลักเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ เศรษฐกิจ การต่างประเทศ และการป้องกันประเทศ ทั้งนี้ สถาบันกษัตริย์เป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศ กษัตริย์ทรงครองราชย์โดยความยินยอมพร้อมใจของรัฐสภา ปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ ที่ 3 ทรงเป็นประมุขของประเทศ และเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นเอกภาพของชาติ

                    ฝ่ายบริหาร : นรม.เป็นหัวหน้ารัฐบาลและเป็นผู้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี นรม.คนปัจจุบัน คือ       เซอร์เคียร์ สตาร์เมอร์ หัวหน้าพรรคแรงงาน โดยพรรคแรงงานชนะการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ 4 ก.ค.2567 ได้รับเลือก 411 ที่นั่ง และเป็นรัฐบาลเสียงข้างมากพรรคเดียว คาดว่าในปี 2568 เซอร์เคียร์ สตาร์เมอร์ และรัฐบาลชุดใหม่จะต้องเผชิญความท้าทายหลายประการ ได้แก่

                    1) ระบบการดูแลสุขภาพ ระบบบริการสุขภาพแห่งชาติ (National Health Service-NHS) ซึ่งเป็นปัญหาที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่เร่งแก้ไขมากที่สุด เนื่องจากตลอดหลายปีที่ผ่านมา บุคลากรด้านสาธารณสุขของสหราชอาณาจักรเรียกร้องให้เพิ่มค่าครองชีพ จัดสรรเวลาการทำงานให้เหมาะสม และปฏิรูประบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพ หลังเกิดปัญหาบุคลากรบางส่วนลาออกหรือหยุดงานประท้วงบ่อยครั้ง ทำให้การให้บริการแก่ประชาชนหยุดชะงัก ล่าช้า และไม่ทั่วถึง

                    2) เศรษฐกิจและค่าครองชีพ สหราชอาณาจักรเผชิญปัญหาอัตรารายได้เพิ่มขึ้นน้อยที่สุดในรอบ 15 ปี แม้เงินเฟ้อจะลดลงจนถึงระดับเป้าหมายของธนาคารกลางอังกฤษ แต่ประชาชนจำนวนมากยังขาดความสามารถในการซื้อสินค้าและบริการ รัฐบาลชุดใหม่จำเป็นต้องเร่งแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะด้านนโยบายการคลังสาธารณะ เพื่อช่วยเหลือประชาชน

                    3) ที่อยู่อาศัยและโครงสร้างพื้นฐาน ประชาชนจำนวนมากไม่สามารถซื้อที่อยู่อาศัยได้ เนื่องจากปัญหาด้านเศรษฐกิจและค่าครองชีพสูง รัฐบาลชุดใหม่ให้คำมั่นว่าจะแก้ไขปัญหาด้วยการผลักดันโครงการก่อสร้างบ้านของรัฐเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลจะเพิ่มการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ และปรับปรุงการเชื่อมต่อระหว่างภูมิภาค โดยเฉพาะในภูมิภาคที่ยังไม่มีโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญเพียงพอ

                    4) การย้ายถิ่นฐานและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในสังคม รัฐบาลชุดใหม่จะยังคงเผชิญความท้าทายในการรักษาสมดุลระหว่างการจำกัดการรับผู้อพยพ กับความต้องการแรงงานที่มีทักษะ นอกจากนี้  รัฐบาลยังต้องแก้ไขปัญหาความเกลียดชังและความแตกแยกในสังคมที่ถูกกระตุ้นจากความขัดแย้งอิสราเอล- ฮะมาส ในภูมิภาคตะวันออกกลาง กระแสหวาดกลัวอิสลาม (Islamophobia) และกระแสต่อต้านชาวยิว (Antisemitism)

                    5) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม รัฐบาลชุดใหม่ของสหราชอาณาจักรกำหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 โดยเน้นการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียนและเทคโนโลยีสีเขียว รวมถึงการปกป้องถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ พร้อมกับส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน

                    6) ภูมิทัศน์ทางการเมืองและการบริหารส่วนปกครองท้องถิ่น รัฐบาลสหราชอาณาจักรจะเผชิญกับผลกระทบจาก Brexit ต่อไปอีกสักระยะหนึ่ง โดยเฉพาะการฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการค้ากับสหภาพยุโรป (EU) และพันธมิตรระดับโลกอื่น ๆ เนื่องจากเป็นประเด็นที่ซับซ้อน และเกี่ยวพันกับข้อกฎหมายของแต่ละประเทศ นอกจากนี้ รัฐบาลชุดใหม่ยังเผชิญปัญหาการกระจายอำนาจในสกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์ รวมถึงความต้องการแยกตัวเป็นเอกราชของสกอตแลนด์

                    7) เสถียรภาพทางการเมือง การที่พรรคแรงงานชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายและครองเสียงข้างมากในสภา ส่งผลให้รัฐบาลของเซอร์เคียร์ สตาร์เมอร์ มีเสถียรภาพอย่างมากในระยะแรก และจะสามารถผ่านกฎหมาย รวมถึงดำเนินนโยบายต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ในระยะยาว หากรัฐบาลชุดใหม่ยังคงไม่สามารถแก้ไขเศรษฐกิจได้อย่างเป็นรูปธรรม ก็อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชน เสถียรภาพ และการดำเนินนโยบายของรัฐบาลได้เช่นกัน

                    8) รัฐบาลชุดใหม่ยังเผชิญความท้าทายด้านอื่น ๆ  อาทิ ประเด็นรัฐจัดสรรเงินทุนการสนับสนุนด้านการศึกษาลดลง ขณะที่การใช้จ่ายด้านการต่างประเทศเพิ่มขึ้น ประเด็นการให้ความช่วยเหลือยูเครนด้านเงินทุนและอาวุธยุทโธปกรณ์ และบทบาทของสหราชอาณาจักรต่อสงครามในฉนวนกาซา

                    ฝ่ายตุลาการ : สภาสูงทำหน้าที่เป็นศาลอุทธรณ์สูงสุด และมีศาลสูงของอังกฤษ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ

                  พรรคการเมือง : ระบบหลายพรรค ที่สำคัญได้แก่ พรรคแรงงาน (Labour) พรรคอนุรักษ์นิยม (Conservative) หรือพรรคขุนนาง (Tory Party/Tories) พรรคชาตินิยมสกอต (Scottish Nationalist Party-SNP)  และพรรคเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democrat)

  • เศรษฐกิจ:

                    ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมผสมผสานกับการจัดระบบรัฐสวัสดิการ ภาคเอกชนมีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจ มีนโยบายเศรษฐกิจมุ่งให้บรรลุถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงและมีเสถียรภาพ ทำให้ประชากรมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น โอกาสการจ้างงานสูง อย่างไรก็ตาม สหราชอาณาจักรเผชิญผลกระทบด้านเศรษฐกิจจากสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เฉพาะอย่างยิ่งราคาอาหารและพลังงาน อัตราเงินเฟ้อยังคงสูงขึ้นในขณะที่เงินปอนด์สเตอร์ลิงอ่อนค่าลง นอกจากนี้ ภายหลัง Brexit สหราชอาณาจักรมีปัญหาเรื่องการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการกับประเทศสมาชิก EU รวมถึงแรงงานจาก EU ประสบปัญหาในการขอวีซ่าเพื่อเข้ามาทำงานในสหราชอาณาจักร ส่งผลให้สหราชอาณาจักรประสบปัญหา ขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมสำคัญ อาทิ พลังงาน สินค้าอุปโภคบริโภค เวชภัณฑ์ ปศุสัตว์ ทำให้สินค้าราคาแพงขึ้นและไม่เพียงพอต่อความต้องการ

                    ผลผลิตการเกษตร : นม ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ชูการ์บีท มันฝรั่ง ผักกาดก้านขาว ข้าวโอ๊ต สัตว์ปีก เนื้อหมู และเนื้อวัว

                    อุตสาหกรรมหลัก : อุปกรณ์เครื่องจักร อุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์อัตโนมัติ อุปกรณ์สำหรับการเดินเส้นทางรถไฟ การต่อเรือ อากาศยาน ยานยนต์และชิ้นส่วนต่าง ๆ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และการสื่อสาร โลหะ เคมีภัณฑ์ ถ่านหิน ปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์จากกระดาษ การผลิตอาหาร สิ่งทอ เสื้อผ้า และสินค้าอุปโภคบริโภคต่าง ๆ

                    ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ : ถ่านหิน ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ เหล็ก ตะกั่ว สังกะสี ทองคำ ดีบุก หินปูน ยิปซัม ปูนขาว ทราย ซิลิกา และหินชนวน

                                  

                    สกุลเงิน ตัวย่อสกุลเงิน :  ปอนด์สเตอร์ลิง (GBP)

                    อัตราแลกเปลี่ยนต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ :  1 GBP : 1.29 ดอลลาร์สหรัฐ (ต.ค.2567)

                    อัตราแลกเปลี่ยนต่อ 1 บาท :  1 GBP : 43.79 บาท (ต.ค.2567)

  • ดัชนีเศรษฐกิจสำคัญ:

                    ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมผสมผสานกับการจัดระบบรัฐสวัสดิการ ภาคเอกชนมีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจ มีนโยบายเศรษฐกิจมุ่งให้บรรลุถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงและมีเสถียรภาพ ทำให้ประชากรมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น โอกาสการจ้างงานสูง อย่างไรก็ตาม สหราชอาณาจักรเผชิญผลกระทบด้านเศรษฐกิจจากสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เฉพาะอย่างยิ่งราคาอาหารและพลังงาน อัตราเงินเฟ้อยังคงสูงขึ้นในขณะที่เงินปอนด์สเตอร์ลิงอ่อนค่าลง นอกจากนี้ ภายหลัง Brexit สหราชอาณาจักรมีปัญหาเรื่องการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการกับประเทศสมาชิก EU รวมถึงแรงงานจาก EU ประสบปัญหาในการขอวีซ่าเพื่อเข้ามาทำงานในสหราชอาณาจักร ส่งผลให้สหราชอาณาจักรประสบปัญหา ขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมสำคัญ อาทิ พลังงาน สินค้าอุปโภคบริโภค เวชภัณฑ์ ปศุสัตว์ ทำให้สินค้าราคาแพงขึ้นและไม่เพียงพอต่อความต้องการ

                    ผลผลิตการเกษตร : นม ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ชูการ์บีท มันฝรั่ง ผักกาดก้านขาว ข้าวโอ๊ต สัตว์ปีก เนื้อหมู และเนื้อวัว

                    อุตสาหกรรมหลัก : อุปกรณ์เครื่องจักร อุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์อัตโนมัติ อุปกรณ์สำหรับการเดินเส้นทางรถไฟ การต่อเรือ อากาศยาน ยานยนต์และชิ้นส่วนต่าง ๆ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และการสื่อสาร โลหะ เคมีภัณฑ์ ถ่านหิน ปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์จากกระดาษ การผลิตอาหาร สิ่งทอ เสื้อผ้า และสินค้าอุปโภคบริโภคต่าง ๆ

                    ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ : ถ่านหิน ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ เหล็ก ตะกั่ว สังกะสี ทองคำ ดีบุก หินปูน ยิปซัม ปูนขาว ทราย ซิลิกา และหินชนวน

                                  

                    สกุลเงิน ตัวย่อสกุลเงิน :  ปอนด์สเตอร์ลิง (GBP)

                    อัตราแลกเปลี่ยนต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ :  1 GBP : 1.29 ดอลลาร์สหรัฐ (ต.ค.2567)

                    อัตราแลกเปลี่ยนต่อ 1 บาท :  1 GBP : 43.79 บาท (ต.ค.2567)

  • การทหาร:

                1)  ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ ผลกระทบจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ที่ยังคงดำเนินอยู่ และท่าทีแข็งกร้าวที่เพิ่มมากขึ้นของจีนต่อกรณีทะเลจีนใต้และช่องแคบไต้หวัน

                    2) ภัยคุกคามทางไซเบอร์และการโจมตีโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ จากรัสเซีย อิหร่าน และจีน

                    3) การก่อการร้ายและกลุ่มอาชญากรในประเทศ กลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง และเครือข่ายก่อการร้ายยังคงพยายามก่อเหตุในยุโรป ขณะเดียวกัน พบการว่าจ้างกลุ่มอาชญากรในพื้นที่ให้ก่อเหตุ รวมถึงลักษณะการก่อเหตุโดยลำพัง (Lone Actor) ซึ่งได้รับอิทธิพลจากสื่อโฆษณาชวนเชื่อของกลุ่มก่อการร้ายให้ปฏิบัติการ    ตอบโต้อิสราเอลและชาติตะวันตก

                    4) ความนิยมที่เพิ่มขึ้นของพรรคการเมืองฝ่ายขวา แนวคิดขวาจัด และการเติบโตของกระแสหวาดกลัวอิสลาม หรือกระแสต่อต้านชาวยิว ซึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์ในภูมิภาคตะวันออกกลาง

                    5) การแทรกแซงจากต่างชาติ การปฏิบัติการจารกรรมข้อมูลข่าวสาร และการใช้สายลับ

                    6) ความมั่นคงด้านพลังงาน การเปลี่ยนผ่านไปสู่แหล่งพลังงานหมุนเวียนและลดการพึ่งพาพลังงานจากรัสเซีย

                    7) การขยายอิทธิพลทางการเมือง เศรษฐกิจ และการทหารในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก

  • สมาชิกองค์การระหว่างประเทศ:

    ที่สำคัญ คือ สมาชิกผู้ก่อตั้ง UN สมาชิกถาวรของ UNSC, IMF, OECD, NATO, AIIB, G-20 และ G-8 

  • การขนส่งและโทรคมนาคม:

    ด้านการขนส่ง มีท่าอากาศยาน 460 แห่ง ท่าอากาศยานนานาชาติหลักที่สำคัญ คือ ท่าอากาศยาน Heathrow และท่าอากาศยาน Gatwick ในกรุงลอนดอน เส้นทางรถไฟ 25,750 กม. ถนน 394,450 กม. เส้นทางสัญจรทางน้ำ 7,600 กม. ด้านโทรคมนาคม สหราชอาณาจักรตั้งเป้าจะเป็นประเทศที่มีเครือข่ายไฟเบอร์เต็มรูปแบบในปี 2576 และส่งเสริมการแข่งขันด้านเครือข่ายโทรคมนาคม โดยมี Office of Telecommunications (OFTEL) เป็นหน่วยงานควบคุมดูแลอุตสาหกรรมการสื่อสารโทรคมนาคม มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยี 5G ทำให้ปัจจุบันมีเทคโนโลยีการสื่อสารก้าวหน้าทั้งระบบภายในประเทศและระหว่างประเทศ โดยใช้เทคโนโลยี 5G ใช้ระบบสายเคเบิลใต้ดิน เส้นใยแก้วนำแสงย่านความถี่ไมโครเวฟ และระบบสายเคเบิลใต้ทะเลเชื่อมโยงทั่วทวีปยุโรปกับเอเชีย ออสเตรเลีย ตะวันออกกลาง และสหรัฐฯ รวมทั้งมีสถานีดาวเทียมภาคพื้นดิน ได้แก่ สถานีดาวเทียมของ Intelsat 10 แห่ง (บริเวณมหาสมุทรแอตแลนติก 7 แห่ง และมหาสมุทรอินเดีย 3 แห่ง) ของ Inmarsat 1 แห่ง (แถบมหาสมุทรแอตแลนติก) และ Eutelsat 1 แห่ง มีโทรศัพท์พื้นฐานให้บริการ 32 ล้านเลขหมาย โทรศัพท์เคลื่อนที่ 79  ล้านเลขหมาย รหัสโทรศัพท์ +44 จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเมื่อปี 2563 คิดเป็น 95% ของจำนวนประชากร รหัสอินเทอร์เน็ต .uk 

  • การเดินทาง:

    สายการบินตรงกรุงเทพฯ-ลอนดอน มี 2 สายการบิน คือ EVA Airways และการบินไทย ระยะเวลาการบินประมาณ 11 ชม. 30 นาที-12 ชม. 50 นาที เวลาที่สหราชอาณาจักรช้ากว่าไทย 6 ชม. ในห้วงปลาย มี.ค.-ปลาย ต.ค. และ 7 ชม. ในห้วงปลาย ต.ค.-ปลาย มี.ค. เว็บไซต์ด้านการท่องเที่ยว https://www.visitbritain.com/us/en การเดินทางเข้าประเทศต้องขอรับการตรวจลงตรา ผู้ถือหนังสือเดินทางของสหราชอาณาจักรได้รับยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยว และสามารถพำนักอยู่ในราชอาณาจักรได้ครั้งละไม่เกิน 30 วัน (จำกัดจำนวน 2 ครั้ง ต่อปีปฏิทิน)

  • สถานการณ์สำคัญที่น่าติดตาม:

                     1) การจัดการความสัมพันธ์ในอนาคตระหว่างสหราชอาณาจักรกับ EU หลังจาก Brexit โดยเฉพาะความสัมพันธ์ทางการค้า และหลักการเคลื่อนย้ายเสรีของพลเรือน เงินทุน สินค้า และแรงงาน

                    2)  การคลี่คลายปัญหาความแตกแยกภายในประเทศ โดยเฉพาะสกอตแลนด์ที่ต้องการจัด      ลงประชามติรอบใหม่เพื่อแยกตัวเป็นเอกราชจากสหราชอาณาจักร และการฟื้นตัวของกลุ่มหัวรุนแรงในไอร์แลนด์เหนือ

                    3)  การเป็นเป้าหมายก่อการร้ายโดยกลุ่มสุดโต่งทางศาสนาและกลุ่มขวาจัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-กลุ่มฮะมาส

                    4)  บทบาทของสหราชอาณาจักรในเวทีการเมืองและการค้าระหว่างประเทศหลังจาก Brexit รวมถึงบทบาทในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก และตะวันออกกลาง

                    5) การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เป็นผลกระทบจากสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน และบทบาทการให้ความช่วยเหลือด้านงบประมาณและยุทโธปกรณ์แก่ยูเครน

                    6) การรักษาสมดุลความสัมพันธ์ระหว่างสหราชอาณาจักรกับจีน ระหว่างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการแก้ไขปัญหาความมั่นคง

                    7)  การสร้างบทบาทนำของสหราชอาณาจักรในประเด็นสิทธิมนุษยชนและการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก

  • ความสัมพันธ์ไทย-สหราชอาณาจักร:

                  สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการเมื่อ 18 เม.ย.2398 และในปี 2568 จะมีการจัดงานเฉลิมฉลองครบรอบ 170 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-สหราชอาณาจักร โดยที่ผ่านมาความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ ดำเนินไปอย่างราบรื่นและแน่นแฟ้นทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี มีการแลกเปลี่ยนการเยือนอย่างสม่ำเสมอ ผู้แทนระดับสูงของสหราชอาณาจักรที่เดินทางเยือนไทยที่สำคัญคือ   ลอร์ดคาเมอรอนแห่งชิปปิงนอร์ตัน หรือนายเดวิด คาเมรอน (รมว.กต.ในขณะนั้น/อดีต นรม.) เมื่อ มี.ค.2567 โดย ลอร์ดคาเมอรอน ได้เข้าพบนายเศรษฐา ทวีสิน (นรม.ในขณะนั้น) เพื่อหารือเกี่ยวกับการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน การสำรวจศักยภาพของข้อตกลงการค้าเสรีไทย-อังกฤษ (FTA) และการส่งเสริมเที่ยวบินตรงและการท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศ พร้อมทั้งลงนามความตกลงหลายฉบับ

                    สำหรับผู้แทนฝ่ายไทย เมื่อ มิ.ย.2567 นายวิชาวัฒน์ อิศรภักดี รมช.กต. พร้อมคณะ เดินทางเยือน สหราชอาณาจักรเพื่อเข้าร่วมการหารือเชิงยุทธศาสตร์ไทย-สหราชอาณาจักร ครั้งที่ 4 ที่กรุงลอนดอน ซึ่งมุ่งเน้นการเสริมสร้างความร่วมมือในด้านต่าง ๆ เช่น ความสัมพันธ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน การป้องกันประเทศและความมั่นคง สาธารณสุข การศึกษา การท่องเที่ยว และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ขณะเดียวกัน นายวิชาวัฒน์ อิศรภักดี ยังได้เข้าเยี่ยมคารวะเซอร์เกรแฮม เบรดี้ ประธานกลุ่มรัฐสภาข้ามพรรคของสหราชอาณาจักร และหารือถึงแนวทางส่งเสริมความร่วมมือด้านนิติบัญญัติและกระตุ้นการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างสมาชิกรัฐสภาจากทั้งสองประเทศ

                    ด้านการค้า เมื่อปี 2567 สหราชอาณาจักรเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับที่ 22 ของไทย และอันดับ 4 ของไทยในยุโรป รองจากเยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และเนเธอร์แลนด์ มูลค่าการค้าไทย-สหราชอาณาจักร ห้วง ม.ค.-ส.ค.2567 อยู่ที่ 152,775 ล้านบาท มูลค่าการส่งออก 93,033 ล้านบาท มูลค่าการนำเข้า 59,742 ล้านบาท ไทยได้เปรียบดุลการค้า 59,742 ล้านบาท

                    สินค้าส่งออกสำคัญของไทย ได้แก่ ไก่แปรรูป รถยนต์และส่วนประกอบ ชิ้นส่วนอากาศยาน อัญมณีและเครื่องประดับ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง สินค้านำเข้าสำคัญจากสหราชอาณาจักร ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องดื่ม น้ำแร่ ผลิตภัณฑ์เวชกรรม ยานพาหนะ และเครื่องมือการแพทย์

                    ด้านการท่องเที่ยว ห้วง ม.ค.-ก.ย.2567 มีนักท่องเที่ยวจากสหราชอาณาจักรเดินทางมาไทยรวม 666,859 คน เพิ่มขึ้นจากเมื่อปี 2566 ที่ 103,624 คน ซึ่งมากเป็นอันดับ 2 ของยุโรป รองจากรัสเซีย ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวจากสหราชอาณาจักรนิยมเดินทางมาไทย เนื่องจากไทยมีความโดดเด่นด้านอาหาร การบริการ สถานที่ท่องเที่ยวที่หลากหลาย และมีค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก เมื่อเทียบกับค่าครองชีพของสหราชอาณาจักร

                    จำนวนคนไทยในสหราชอาณาจักร ณ วันที่ 5 เม.ย.2567 ประมาณ 55,000 คน

                    ด้านการศึกษา มีความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาในทุกระดับ โดย British Council (ประเทศไทย) เป็นหน่วยงานหลักของสหราชอาณาจักรในการประสานโครงการความร่วมมือด้านการศึกษาต่าง ๆ กับหน่วยราชการของไทย

                    ข้อตกลงสำคัญ : ความตกลงว่าด้วยการบริการทางอากาศ (10 พ.ย.2493 แก้ไขเพิ่มเติมเมื่อ 28 ต.ค.2520 และ มิ.ย.2522) ความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน (28 พ.ย.2521) อนุสัญญา ว่าด้วยการยกเว้นภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีที่เก็บจากเงินได้ (18 ก.พ.2524) ความตกลงว่าด้วยการโอนตัวผู้กระทำผิดและความร่วมมือในการบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาในคดีอาญา (22 ม.ค.2533) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการส่งกำลังบำรุง (30 มี.ค.2536) การแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารสนธิสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางอาญา (10 ก.ย.2540) แผนงานว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์สหราชอาณาจักร-ไทย เพื่อกระชับความสัมพันธ์ด้านกลาโหม สภาพภูมิอากาศ และพลังงาน การค้าและการลงทุน เกษตรกรรม ดิจิทัลและเทคโนโลยี รวมถึงสาธารณสุขและการศึกษา (มี.ค.2567)

  • คณะรัฐมนตรี:

    ประมุขและคณะรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร

    ประมุข                                                                         Charles III

    ประธานองคมนตรีและประธานสภาผู้แทนราษฎร                         Lucy Powell

    นรม.                                                                            Sir Keir Starmer

    รอง นรม. และ รมว.กระทรวงปรับปรุงที่อยู่อาศัย การเคหะ            Angela Rayner

    และชุมชน                                      

    รมว.กระทรวงการคลัง                                                        Rachel Reeves

    รมว.กระทรวงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาล                                Pat McFadden

    รมว.กระทรวงการต่างประเทศ เครือจักรภพ และ                        David Lammy

    การพัฒนา

    รมว.กระทรวงมหาดไทย                                                     Yvette Cooper

    รมว.กระทรวงกลาโหม                                                        John Healey

    รมว.กระทรวงยุติธรรม                                                        Shabana Mahmood

    รมว.กระทรวงสาธารณสุขและสังคมสงเคราะห์                            Wes Streeting

    รมว.กระทรวงสตรีและความเท่าเทียม และ                                Bridget Phillipson

    รมว.กระทรวงศึกษาธิการ                                         

    รมว.กระทรวงความมั่นคงทางพลังงาน และ                               Ed Miliband

    การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์

    รมว.กระทรวงการทำงานและบำนาญ                                       Liz Kendall

    รมว.กระทรวงธุรกิจและการค้า                                              Jonathan Reynold

    รมว.กระทรวงวิทยาศาสตร์ นวัตกรรม และเทคโนโลยี                   Peter Kyle

    รมว.กระทรวงคมนาคม                                                       Louis Haigh                      

    รมว.กระทรวงสิ่งแวดล้อม อาหาร และกิจการชนบท                     Steve Reed

    รมว.กระทรวงวัฒนธรรม สื่อมวลชน และกีฬา                             Lisa Nandy

    รมว.กระทรวงกิจการไอร์แลนด์เหนือ                                        Hilary Benn

    รมว.กระทรวงกิจการสกอตแลนด์                                           Ian Murray

    รมว.กระทรวงกิจการเวลส์                                                    Jo Stevens         

     

    ----------------------------------------

     (ต.ค.2567)