แอฟริกาใต้
สร้างเมื่อ : วันศุกร์ 27 ธันวาคม 2567, 15:48:42
แก้ไขเมื่อ : วันศุกร์ 27 ธันวาคม 2567, 15:48:42
เข้าชม : 488
ไฟล์ PDF
สาธารณรัฐแอฟริกาใต้
South Africa
South Africa


-
เมืองหลวง:
กรุงพริทอเรีย - ที่ตั้ง:
ใต้สุดของทวีปแอฟริกา เส้นละติจูด 29 องศาใต้ และเส้นลองจิจูด 24 องศาตะวันออก พื้นที่โดยรวม 1,219,090 ตร.กม. มีชายแดนทางบกยาว 5,244 กม. และมีชายฝั่งยาว 2,798 กม.
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกับบอตสวานา (1,969 กม.) และซิมบับเว (230 กม.)
ทิศตะวันออก ติดกับโมซัมบิก (496 กม.) เอสวาตินี (438 กม.) และมหาสมุทรอินเดีย
ทิศใต้ ติดกับมหาสมุทรอินเดีย
ทิศตะวันตก ติดกับนามิเบีย (1,005 กม.) และมหาสมุทรแอตแลนติก
ตอนกลางประเทศเป็นที่ตั้งของเลโซโท มีพรมแดนติดกัน (1,106 กม.)
- ภูมิประเทศ:
เป็นที่ราบกว้างใหญ่ ล้อมรอบด้วยเนินเขาและที่ราบชายฝั่งทะเล
- ภูมิอากาศ:
มีฝนตกน้อยด้านชายฝั่งตะวันออก มีอากาศแบบกึ่งเขตร้อน อากาศอุ่นในตอนกลางวันและเย็นสบายในตอนกลางคืน
- ประชากร:
63.202 ล้านคน (ปี 2567) เป็นแอฟริกันผิวดำ 81.4% ผิวสี 8.2% ผิวขาว 7.3% อินเดียและเอเชีย 2.7% อัตราส่วนประชากรจำแนกตามอายุ : วัยเด็ก (0-14 ปี) 28.06% วัยรุ่นถึงวัยกลางคน (15-64 ปี) 65.6% วัยชรา (65 ปีขึ้นไป) 5.9% (ปี 2565) อายุขัยเฉลี่ยของประชากรโดยรวม 66.5 ปี อายุขัยเฉลี่ยเพศชายประมาณ 64.8 ปี อายุเฉลี่ยเพศหญิงประมาณ 71.3 ปี อัตราการเกิด 19.5 คนต่อประชากร 1,000 คน อัตราการตาย 8.7 คนต่อประชากร 1,000 คน อัตราการเพิ่มของประชากร 1.33%
- ศาสนา:
คริสต์ 85.3% ศาสนาที่สืบต่อมาจากบรรพบุรุษ ชนเผ่า นับถือผี หรือศาสนาของชาวแอฟริกาดั้งเดิม 7.8% อิสลาม 1.6% ไม่นับถือศาสนา 2.9% และอื่น ๆ 2.5% (ปี 2565)
- ภาษา:
ภาษาราชการ 12 ภาษา (ปี 2565) ได้แก่ isiZulu 24.4% isiXhosa 16.3% Afrikaans 10.06% Sepedi 10% อังกฤษ 8.7% Setswana 8.3% Sesotho 7.8% Xitsonga 4.7% siSwati 2.8% Tshivenda 2.5% isiNdebele 1.7% South African Sign Language (SASL) 0.02% และภาษาอื่น ๆ (รวมถึงภาษา Khoi, Nama และ San) 2.1%
- การศึกษา:
อัตราการรู้หนังสือ 87% (ปี 2565)
- การก่อตั้งประเทศ:
กลุ่มพ่อค้าชาวเนเธอร์แลนด์เดินทางมายังแอฟริกาใต้เมื่อปี 2195 และตั้งจุดพักบนเส้นทางการค้าเครื่องเทศระหว่างเนเธอร์แลนด์กับตะวันออกไกลที่เมืองเคปทาวน์ (Cape Town) จากนั้น
เมื่อปี 2349 สหราชอาณาจักรยึดแหลม Good Hope ทำให้ชาวเนเธอร์แลนด์ต้องอพยพขึ้นไปทางเหนือและตั้งเขตการปกครองของตนเองขึ้น การพบแหล่งเพชรและทองคำในช่วงระหว่างปี 2410-2429 สร้างความร่ำรวยให้แก่ผู้ตั้งถิ่นฐานเดิม และตั้งรัฐบัวร์ (Boer) ขึ้น ต่อมา มีผู้อพยพมายังแอฟริกาใต้เพิ่มขึ้น (ส่วนใหญ่ มาจากสหราชอาณาจักร) ทำให้ชาวบัวร์ที่อาศัยอยู่เดิมถูกรุกราน ชาวบัวร์จึงทำสงครามต่อต้านสหราชอาณาจักร (Boer War) ระหว่างปี 2442-2445 แต่พ่ายแพ้เมื่อปี 2491 ต่อมา ชาวอังกฤษและบัวร์ (หรือชาว Afrikaners) ร่วมกันบริหารประเทศตั้งแต่ปี 2453 ภายใต้ชื่อ สหภาพแอฟริกาใต้ (Union of South Africa) และปรับเปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐเมื่อปี 2504 พรรคแห่งชาติที่มีชาว Afrikaners ได้เข้าบริหารประเทศเมื่อปี 2491 และประกาศใช้นโยบาย Apartheid ซึ่งเป็นนโยบายแบ่งแยกสีผิวที่เอื้อประโยชน์ต่อคนผิวขาว ซึ่งเป็นชนส่วนน้อยและกดขี่ชาวผิวสี ซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ พรรคสภาแห่งชาติแอฟริกัน (African National Congress-ANC) ต่อต้านนโยบาย Apartheid และผู้นำหลายคนถูกจับจำคุก รวมทั้งนาย Nelson Mandela ซึ่งถูกจำคุกนานถึง 27 ปี การประท้วงภายในประเทศและการกดดันจากนานาประเทศทำให้เกิดการเจรจาและตกลงจะถ่ายโอนอำนาจสู่การปกครองโดยคนส่วนใหญ่ รวมทั้งการปลดปล่อยนักโทษทางการเมือง นำไปสู่การเลือกตั้งหลาย เชื้อชาติเมื่อปี 2537 เป็นการสิ้นสุดนโยบาย Apartheid และเริ่มการปกครองโดยรัฐบาลที่นำโดยพรรค ANC - วันชาติ:
27 เม.ย. (วันเสรีภาพของแอฟริกาใต้ เมื่อปี 2537) - การเมือง:
ปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้ารัฐบาล วาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี และดำรงตำแหน่งติดต่อกันได้ไม่เกิน 2 สมัย การเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุดเมื่อ 16 มิ.ย.2567 เป็นการเลือกตั้งโดยอ้อมของสภาผู้แทนราษฎร (National Assembly) โดยนายไซริล รามาโฟซาประธานาธิบดีได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ สมัยที่ 2 หลังจากพรรค African National Congress (ANC) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลชนะการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ 29 พ.ค.2567 โดยการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งต่อไปจะมีขึ้นในปี 2572
ฝ่ายบริหาร : ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้ง ครม.
ฝ่ายนิติบัญญัติ : ใช้ระบบ 2 สภา คือ National Council of Provinces สมาชิก 90 คน (โดยมาจากสมาชิกสภาประจำจังหวัด จังหวัดละ 10 คน) วาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี (หมายเหตุ สภานี้มีอำนาจพิเศษในการปกป้องผลประโยชน์ของชาติ รวมทั้งปกป้องวัฒนธรรมและภาษาในชนกลุ่มต่าง ๆ) และสภาผู้แทนราษฎร (National Assembly) สมาชิก 400 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง วาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี การเลือกตั้งทั้งสองสภาครั้งล่าสุดเมื่อ 29 พ.ค.2567 และการเลือกตั้งครั้งต่อไปจะมีขึ้นในปี 2572
ฝ่ายตุลาการ : ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา (Supreme Court of Appeal) ศาลสูง (High Court) ศาลชั้นต้น (Magistrates’ Courts) ศาลแรงงาน และศาลที่ดิน
พรรคการเมืองสำคัญ : พรรครัฐบาล ได้แก่ พรรค African National Congress (ANC) ซึ่งมีประธานาธิบดีรามาโฟซาเป็นหัวหน้าพรรค และ พรรค Democratic Alliance (DA) พรรคฝ่ายค้าน ได้แก่ พรรค Economic Freedom Fighters (EFF) พรรค Inkatha Freedom Party (IFP) พรรค Freedom Front Plus (FF+) และพรรค uMkhonto weSizwe (MK)
กลุ่มที่เคลื่อนไหวกดดันรัฐบาล สหภาพ Congress of South African Trade Unions หรือ COSATU พรรค South African Communist Party หรือ SACP องค์กร South African National Civics Organization หรือ SANCO ทั้งนี้ COSATU และ SACP อยู่ในกลุ่มพันธมิตร 3 ฝ่าย (Tripartite Alliance) ซึ่งสมาชิกที่เหลือ ได้แก่ African National Congress
- เศรษฐกิจ:
แอฟริกาใต้เป็นประเทศที่มีรายได้ระดับปานกลาง เป็นตลาดใหม่ที่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ตลาดการเงินพัฒนา มีระบบกฎหมาย การสื่อสาร พลังงาน และระบบการขนส่งที่ดี ภาคเศรษฐกิจมีด้านบริการ อุตสาหกรรม และการเกษตร ตลาดหลักทรัพย์ของแอฟริกาใต้มีขนาดใหญ่ที่สุดในแอฟริกา และใหญ่เป็นอันดับ 19 ของโลก อย่างไรก็ดี แอฟริกาใต้ยังคงประสบปัญหาขาดแคลนกระแสไฟฟ้า การว่างงาน ความไม่เท่าเทียมกัน และความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสูง โดยเฉพาะอัตราว่างงานสูงในกลุ่มเยาวชนผิวสี
สกุลเงิน ตัวย่อสกุลเงิน : แรนด์ (South African rand-ZAR)
อัตราแลกเปลี่ยนต่อดอลลาร์สหรัฐ : 1 ดอลลาร์สหรัฐ : 17.55 แรนด์
อัตราแลกเปลี่ยนต่อบาท : 1 บาท : 0.52 แรนด์ (ต.ค. 2567)
- ดัชนีเศรษฐกิจสำคัญ:
แอฟริกาใต้เป็นประเทศที่มีรายได้ระดับปานกลาง เป็นตลาดใหม่ที่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ตลาดการเงินพัฒนา มีระบบกฎหมาย การสื่อสาร พลังงาน และระบบการขนส่งที่ดี ภาคเศรษฐกิจมีด้านบริการ อุตสาหกรรม และการเกษตร ตลาดหลักทรัพย์ของแอฟริกาใต้มีขนาดใหญ่ที่สุดในแอฟริกา และใหญ่เป็นอันดับ 19 ของโลก อย่างไรก็ดี แอฟริกาใต้ยังคงประสบปัญหาขาดแคลนกระแสไฟฟ้า การว่างงาน ความไม่เท่าเทียมกัน และความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสูง โดยเฉพาะอัตราว่างงานสูงในกลุ่มเยาวชนผิวสี
สกุลเงิน ตัวย่อสกุลเงิน : แรนด์ (South African rand-ZAR)
อัตราแลกเปลี่ยนต่อดอลลาร์สหรัฐ : 1 ดอลลาร์สหรัฐ : 17.55 แรนด์
อัตราแลกเปลี่ยนต่อบาท : 1 บาท : 0.52 แรนด์ (ต.ค. 2567)
- การทหาร:
กองทัพแห่งชาติของแอฟริกา (South African National Defense Force-SANDF) ประกอบด้วย ทบ. ทร. ทอ. และหน่วยแพทย์ทหาร งบประมาณด้านการทหารเมื่อปี 2565 จำนวน 2,995.30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 0.739% ของ GDP กำลังพลรวม : 69,200 นาย (ทบ. 35,250 นาย ทร. 5,550 นาย ทอ. 8,900 นาย หน่วยแพทย์ทหาร 6,900 นาย และอื่น ๆ 12,600 นาย) กองหนุน 15,050 นาย (ทบ. 12,250 นาย ทร. 850 นาย ทอ. 850 นาย และหน่วยแพทย์ทหาร 1,100 นาย) การส่งทหารประจำการต่างประเทศ ได้แก่ ภารกิจ MONUSCO ในคองโก 1,183 นาย และกองกำลังของ Southern African Development Community ในโมซัมบิก 1,200 นาย
ยุทโธปกรณ์สำคัญ :
ทบ. ได้แก่ รถถังหลัก (MBT) 24 คัน รถถังจู่โจม (ASLT) 50 คัน รถหุ้มเกราะทหารราบ (IFV) 534 คัน รถหุ้มเกราะลำเลียงพล (APC) 810 คัน รถหุ้มเกราะกู้ภัย (ARV) รุ่น Gemsbok รถถังทอดสะพาน (VLB) รุ่น Leguan ทุ่นระเบิดดักรถถัง (Mine Warfare) รุ่น Husky อาวุธนำวิถีต่อสู้รถถัง (MSL) ปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลังต่อสู้รถถัง (RCL) รุ่น M40A1 ปืนใหญ่ประเภทอัตตาจร (SP) ลากจูง (TOWED) เครื่องยิงระเบิด MRL และ MOR รวม 1,240 กระบอก อากาศยานไร้คนขับ จรวดต่อสู้อากาศยานพื้นสู่อากาศ (SAM) และปืนต่อสู้อากาศยานประเภทอัตตาจร (SP) และลากจูง (TOWED) รวม 40 กระบอก
ทร. ได้แก่ เรือดำน้ำ 2 ลำ เรือฟริเกต 4 ลำ เรือลาดตระเวนและเรือรบชายฝั่ง 4 ลำ เรือกวาดทุ่นระเบิด 3 ลำ และเรือส่งกำลังบำรุง 2 ลำ
ทอ. ได้แก่ เครื่องบินโจมตีพื้นดิน (FGA) 24 เครื่อง เครื่องบินขนส่ง (TPT) 23 เครื่อง และเครื่องบินสำหรับการฝึก (TRG) 59 เครื่อง เฮลิคอปเตอร์โจมตี (ATK) 11 เครื่อง เฮลิคอปเตอร์อเนกประสงค์ (MRH) 4 เครื่อง เฮลิคอปเตอร์ขนส่ง (TPT) 69 เครื่อง ขีปนาวุธจากอากาศสู่อากาศ (AAM) และระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์
- สมาชิกองค์การระหว่างประเทศ:
ACP, AfDB, AU, BIS, C, CD, FAO, FATF, G-20, G-24, G-77, IAEA, IBRD, ICAO, ICC, ICRM, IDA, IFAD, IFC, IFRCS, IHO, ILO, IMF, IMO, IMSO, Interpol, IOC, IOM, IPU, ISO, ITSO, ITU, ITUC, MIGA, MONUSCO, NAM, NSG, OPCW, Paris Club (associate), PCA, SACU, SADC, UN, UNAMID, UNCTAD, UNESCO, UNHCR, UNIDO, UNITAR, UNWTO, UPU, WCO, WFTU, WHO, WIPO, WMO, WTO และ ZC
- การขนส่งและโทรคมนาคม:
ท่าอากาศยาน 407 แห่ง ที่สำคัญ ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติ O.R. Tambo ในนครโจฮันเนสเบิร์ก ท่าอากาศยานนานาชาติ Cape Town ในนครเคปทาวน์ และท่าอากาศยานนานาชาติ King Shaka ในเมืองเดอร์บัง ทางรถไฟระยะทาง 20,953 กม. ถนนระยะทาง 750,000 กม. ท่าเรือสำคัญ ได้แก่ Cape Town, Durban, Port Elizabeth, Richards Bay และ Saldanha Bay โทรคมนาคม : โทรศัพท์พื้นฐานให้บริการประมาณ 1.472 ล้านเลขหมาย โทรศัพท์เคลื่อนที่ 100.328 ล้านเลขหมาย รหัสโทรศัพท์ +27 จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 42.28 ล้านคน รหัสอินเทอร์เน็ต .za เว็บไซต์การท่องเที่ยว : www.southafrica.net/sat/content/en/za/home/, www.southafricatravel.com
- การเดินทาง:
การบินไทยยกเลิกเที่ยวบินตรงระหว่างกรุงเทพฯ-นครโจฮันเนสเบิร์ก เมื่อ ม.ค.2558 และไม่มี สายการบินที่บินตรงจากไทยไปแอฟริกาใต้ การเดินทางใช้เวลาอย่างน้อยประมาณ 18 ชม. เวลาของแอฟริกาใต้ช้ากว่าไทยประมาณ 6 ชม. คนไทยสามารถเดินทางเข้าแอฟริกาใต้ได้ 30 วัน โดยไม่ต้องขอรับการตรวจลงตรา
- สถานการณ์สำคัญที่น่าติดตาม:
1) แอฟริกาใต้จะเป็นเจ้าภาพการประชุมกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของโลก (G20) ในปี 2568 ต่อจากบราซิล ซึ่งหัวข้อหลักของการประชุมคือ Solidarity Equality and Sustainable Development (ความสามัคคี เท่าเทียม และพัฒนาอย่างยั่งยืน) ที่มุ่งหาแนวทางพัฒนาและสร้างการเปลี่ยนแปลงระดับโลก ได้แก่ 1) การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals-SDGs) 2) วาระ 2063 ของสหภาพแอฟริกา (African Union-AU) 3) การแก้ไขปัญหาวิกฤตด้านหนี้สินของประเทศซีกโลกใต้ และ 4) การปฏิรูปสถาปัตยกรรมการเงินและองค์การระหว่างประเทศ เฉพาะอย่างยิ่ง วาระการเพิ่มสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (United Nations Security Council-UNSC) และการยกเลิกสิทธิยับยั้ง (Veto)
2) เสถียรภาพและการบริหารประเทศของรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติที่เกิดจากการรวมพรรค ANC ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลเดิมที่ครองเสียงข้างมากในสภา กับพรรค DA อดีตฝ่ายค้าน ทั้งนี้ การที่ทั้งสองพรรคมีนโยบายและจุดมุ่งหมายทางการเมืองแตกต่างกัน เฉพาะอย่างยิ่งนโยบายเศรษฐกิจและกลุ่มผู้สนับสนุนผิวสี-ผิวขาว อาจทำให้การกำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจไม่ราบรื่น และไม่สามารถปรับนโยบายได้ตามต้องการ ส่งผลกระทบต่อภาคการลงทุน
3) การฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 และวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน โดยรัฐบาลใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ส่งเสริมธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมในท้องถิ่น เพื่อรองรับความต้องการของตลาดในประเทศ ลดการนำเข้า รวมถึงส่งเสริมให้ส่งออกไปยังต่างประเทศเพิ่มขึ้น
4) ปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้า จากการที่โรงไฟฟ้ามีอัตราการผลิตลดลง แรงงานรวมตัวหยุดงานเพื่อประท้วงเรื่องค่าแรง และโรงไฟฟ้าเสื่อมโทรม เพราะใช้งานมาเป็นเวลานาน ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศ
5) กระแสเกลียดกลัวชาวต่างชาติ (Xenophobia) ยังคงมีอยู่ ซึ่งเกิดจากปัจจัยกระตุ้น เช่น ความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ ความเกลียดชังระหว่างกลุ่ม การเหยียดเชื้อชาติ ความยากจน การว่างงาน และการแข่งขันเพื่อทรัพยากร ส่งผลให้เกิดการคุกคามผู้อพยพและแรงงานต่างชาติ ซึ่งปัญหาดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างแอฟริกาใต้กับชาติเพื่อนบ้านได้
6) ปัญหายาเสพติด สภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางการเดินทางที่ใหญ่ที่สุดในแอฟริกา และความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างประเทศที่หลากหลายของแอฟริกาใต้ ทำให้แอฟริกาใต้เป็นศูนย์กลางการค้ายาเสพติดในภูมิภาคแอฟริกาใต้ทะเลทรายซาฮารา (Sub-Saharan Africa) และเป็นจุดเชื่อมโยงที่สำคัญในเครือข่ายลักลอบขนเฮโรอีนที่ผลิตในอัฟกานิสถานไปยังยุโรป แอฟริกา และออสเตรเลีย รวมถึงเฮโรอีนจากปากีสถานหรืออิหร่านด้วย โดยใช้เส้นทางทางทะเลจากชายฝั่งทางใต้ของปากีสถานและอิหร่านผ่านมหาสมุทรอินเดีย
- ความสัมพันธ์ไทย-แอฟริกาใต้:
สาธารณรัฐแอฟริกาใต้เป็นประเทศที่สำคัญที่สุดประเทศหนึ่งสำหรับไทยในทวีปแอฟริกา โดยเฉพาะการเป็นหุ้นส่วนหลักทางยุทธศาสตร์ของไทยในความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม รัฐบาลไทยและแอฟริกาใต้ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางกงสุลระหว่างกันเมื่อ 9 มี.ค.2535 และได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อ 9 ธ.ค.2536 หน่วยงานราชการของไทยในแอฟริกาใต้ ได้แก่ สอท. ณ กรุงพริทอเรีย สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ และสำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร ขณะที่แอฟริกาใต้มี สอท.ประจำกรุงเทพฯ
ความสัมพันธ์ทางการค้า แอฟริกาใต้เป็นประเทศคู่ค้าลำดับที่ 22 ของไทยเมื่อปี 2566 โดยมีมูลค่าการค้าอยู่ที่ 4,088.82 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (141,063.77 ล้านบาท) ไทยส่งออกมูลค่า 3,529.01 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (121,569.84 ล้านบาท) นำเข้ามูลค่า 559.81 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (19,493.92 ล้านบาท) ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 2,969.20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (102,075.92 ล้านบาท) ขณะที่มูลค่าการค้าห้วง ม.ค.-ส.ค.2567 อยู่ที่ 2,435.60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (87,559.98 ล้านบาท) ไทยส่งออกมูลค่า 2,003.75 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (71,891.23ล้านบาท) และนำเข้ามูลค่า 431.85 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (15,668.74 ล้านบาท)
สินค้าส่งออกของไทย : รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ ข้าว ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เม็ดพลาสติก
สินค้านำเข้าจากแอฟริกาใต้ : สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ น้ำมันดิบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ ยุทธปัจจัย เครื่องดื่มประเภทน้ำแร่ น้ำอัดลมและสุรา เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์
แอฟริกาใต้มีความสำคัญทางเศรษฐกิจกับไทยมากที่สุดในทวีปแอฟริกา เนื่องจากเป็นประเทศที่มีวัตถุดิบมาก ประชาชนมีรายได้และอำนาจการซื้อมากกว่าประเทศใกล้เคียงอื่น อีกทั้งเป็นประตูการค้าสำคัญในการส่งออกไปประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ แอฟริกาใต้ยังเป็นตลาดส่งออกข้าวที่สำคัญของไทย โดยเป็นประเทศผู้นำเข้าข้าวไทยอันดับที่ 2 ของโลก และอันดับที่ 1 ของภูมิภาคแอฟริกา โดยเมื่อปี 2565 แอฟริกาใต้นำเข้าข้าวประมาณ 0.984 ล้านตัน ซึ่งเป็นข้าวจากไทยประมาณ 774,929 ตัน หรือประมาณ 78.73% ของปริมาณการนำเข้าทั้งหมด ขณะที่ผู้ที่เดินทางจากแอฟริกาใต้มาไทยเมื่อปี 2566 จำนวน 60,280 คน เพิ่มขึ้น 28,067 (53.43%) จากปี 2565 ที่มีจำนวน 32,213 คน ส่วนคนไทยอาศัยอยู่ในแอฟริกาใต้มีจำนวน 2,130 คน (เม.ย.2567)
ความสัมพันธ์กับไทยในภาพรวมคาดว่าไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากความสัมพันธ์ของสองประเทศ
เป็นไปอย่างราบรื่น และมีแนวโน้มจะขยายความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีเพื่อส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันให้มากขึ้น ทั้งนี้ แอฟริกาใต้เป็นหนึ่งในประเทศที่สนับสนุนไทยในการเจรจาจัดทำข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับสหภาพศุลกากรแอฟริกาตอนใต้ (Southern African Customs Union-SACU) และการสมัครเข้าร่วมกลุ่ม BRICSนอกจากนี้ มีนักธุรกิจแอฟริกาใต้เข้ามาลงทุนในไทย อาทิ ธุรกิจสายการบิน อุตสาหกรรมเหล็ก
และเหล็กกล้า ผลไม้กระป๋อง และธุรกิจ e-commerce อีกทั้งแอฟริกาใต้ยังมีโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในไทยจำนวน 1 โครงการ เป็นอุตสาหกรรมเบา (อัญมณีและเครื่องประดับ) มูลค่า 7.3 ล้านบาท สำหรับธุรกิจไทยที่ลงทุนในแอฟริกาใต้ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดกลางและเล็ก ได้แก่ ร้านอาหาร และสปาจำนวนกว่า 20 ร้าน ปัจจุบัน มีการลงทุนขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น อาทิ กลุ่มธุรกิจบ้านปูลงทุนในธุรกิจการก่อสร้างโรงแรม และเหมืองถ่านหิน กลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ลงทุนในธุรกิจค้าข้าว สินค้าเกษตรและอาหารแปรรูป บริษัทค้าสากลปูนซีเมนต์ไทยลงทุนธุรกิจค้าเม็ดพลาสติกและสินค้ากระป๋อง และบริษัทอิตาเลียนไทยลงทุนในธุรกิจก่อสร้างโรงแรมและสนามกอล์ฟ ทั้งนี้ ยังมีโรงงานผลิตสีสำหรับใช้กับถนนที่เมืองเดอร์บัน ซึ่งเป็นโรงงานอุตสาหกรรมของไทยแห่งแรกในแอฟริกาตอนใต้ และบริษัท Thai Export 1980 (T Group) ซึ่งเปิดศูนย์กระจายสินค้าในแอฟริกาใต้ -
คณะรัฐมนตรี:
คณะรัฐมนตรีแอฟริกาใต้
ประธานาธิบดี Matamela Cyril Ramaphosa
รองประธานาธิบดี Paul Shipokosa Mashatile
รมว.ประจำสำนักประธานาธิบดี Khumbudzo Phophi Silence Ntshavheni
รมว.กระทรวงเกษตร John Henry Steenhuisen
รมว.กระทรวงการศึกษาขั้นพื้นฐาน Siview Gwarube
รมว.กระทรวงการสื่อสารและเทคโนโลยีดิจิทัล Mmoba Solomon Malatsi
รมว.กระทรวงความร่วมมือด้านการบริหารและจารีตประเพณี Velenkosini Fiki Hlabisa
รมว.กระทรวงกลาโหมและทหารผ่านศึก Matsie Angelina Motshekga
รมว.กระทรวงการไฟฟ้าและพลังงาน Kgosientso David Ramokgopa
รมว.กระทรวงการจ้างงานและแรงงาน Nomakhosazana Meth
รมว.กระทรวงสิ่งแวดล้อม ป่าไม้ และการประมง Dion Travers George
รมว.กระทรวงการคลัง Enoch Godongwana
รมว.กระทรวงสาธารณสุข Pakishe Aaron Motsoaledi
รมว.กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี Nobuhle Pamela Nkabane
รมว.กระทรวงมหาดไทย Leon Amos Schreiber
รมว.กระทรวงการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ Mmamoloko Tryphosa Kubayi
รมว.กระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศ Ronald Ozzy Lamola
รมว.กระทรวงยุติธรรมและการพัฒนารัฐธรรมนูญ Thembisile Phumelele Simelane
รมว.กระทรวงการปฏิรูปที่ดินและพัฒนาชนบท Mzwanele Nyhontso
รมว.กระทรวงการบริการราชทัณฑ์ Petrus Johannes Groenewald
รมว.กระทรวงทรัพยากรเหมืองแร่และปิโตรเลียม Gwede Samson Mantashe
รมว.กระทรวงการตำรวจ Edward Senzo Mchunu
รมว.กระทรวงบริหารและการจัดการสาธารณะ Inkosi Elphas Mfakazeleni Buthelezi
รมว.กระทรวงงานสาธารณะและโครงสร้างพื้นฐาน Dean William Macpherson
รมว.กระทรวงการพัฒนาธุรกิจขนาดเล็ก Stella Tembisa Ndabeni-Abrahams
รมว.กระทรวงพัฒนาสังคม Nokuzola Gladys Tolashe
รมว.กระทรวงกีฬา ศิลปะ และวัฒนธรรม Gayton McKenzie
รมว.กระทรวงท่องเที่ยว Patricia De Lille
รมว.กระทรวงการค้า อุตสาหกรรม และการแข่งขัน Mpho Parks Franklyn Tau
รมว.กระทรวงคมนาคม Barbara Dallas Creecy
รมว.กระทรวงการจัดการน้ำและสุขาภิบาล Pemmy Castelina Pamela Majodina
รมว.กระทรวงสตรี เยาวชน และคนพิการ Lydia Sindisiwe Chikunga
รมว.กระทรวงการวางแผน ตรวจสอบ และประเมินผล Maropene Lydia Ramokgopa
-----------------------------------------------
(ต.ค.2567)